วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

มะเร็งคือ ?

มะเร็ง


มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด ไม่ใช่ว่าเนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายไม่ลุกลามอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย มีมะเร็งที่ส่งผลต่อมนุษย์ที่ทราบแล้วกว่า 200 ชนิด

สาเหตุ

ของมะเร็งนั้นมีหลากหลาย ซับซ้อนและเข้าใจเพียงบางส่วนเท่านั้น มีหลายปัจจัยที่ทราบแล้วว่าเพิ่มปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง ได้แก่ 
  • การสูบบุหรี่ 
  • ปัจจัยด้านอาหาร 
  • การติดเชื้อบางอย่าง 
  • การสัมผัสรังสี 
  • การขาดกิจกรรมทางกาย 
  • โรคอ้วนและมลภาวะสิ่งแวดล้อม 
ปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้ยีนเสียหายโดยตรงหรืออาจประกอบกับความบกพร่องทางพันธุกรรมที่มีอยู่เดิมในเซลล์ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ มะเร็งราว 5–10% สามารถติดตามไปยังความบกพร่องทางพันธุกรรมแต่กำเนิดโดยตรง มะเร็งหลายชนิดสามารถป้องกันได้โดยการไม่สูบบุหรี่ ทานผัก ผลไม้และธัญพืชเต็มเมล็ด (whole grain) มากขึ้น ทานเนื้อและคาร์โบไฮเดรตขัดสี (refined) น้อยลง ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย จำกัดการรับแสงอาทิตย์ และรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อบางชนิด


มะเร็งสามารถตรวจพบได้หลายวิธี รวมทั้งการมีอาการและอาการแสดงบางอย่าง การตรวจคัดกรองโรค หรือการสร้างภาพทางการแพทย์ เมื่อตรวจพบว่ามีโอกาสเป็นมะเร็งแล้ว จะมีการวินิจฉัยโดยการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยปกติ มะเร็งรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัดและการผ่าตัด โอกาสการรอดชีวิตของโรคมีหลากหลายมากขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งของมะเร็งและขอบเขตของโรคเมื่อเริ่มต้นการรักษา มะเร็งสามารถเกิดในบุคคลทุกช่วงอายุ แต่ความเสี่ยงการกลายเป็นมะเร็งนั้นโดยปกติจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ยกเว้นมะเร็งน้อยชนิดที่พบมากกว่าในเด็ก ในปี 2550 มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมนุษย์ 13% ทั่วโลก (7.9 ล้านคน) อัตรานี้เพิ่มสูงขึ้นเพราะมีผู้รอดชีวิตถึงวัยชรามากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตครั้งใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา





มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่


รังไข่ OVARY

อวัยวะสืบพันธ์ในผู้หญิงประกอบไปด้วยรังไข่ (Ovary) ลักษณะวงรี โดยมีท่อรังไข่ที่เรียกว่า Fallopian tube ยื่นออกมาจากมดลูก Uterus หรีอ Womb ซึ่งต่อมาจากช่องคลอด รังไข่และท่อรังไข่จะอยู่ในช่องเชิงกราน Pelvic ซึ่งนอกจากจะมีอวัยวะสืบพันธ์ผู้หญิงแล้ว ยังมีอวัยวะที่สำคัญ เช่น กระเพาะปัสสาวะ Bladder ลำไส้ใหญ่ Rectum ต่อมน้ำเหลือง

ทุกๆเดือนรังไข่ข้างหนึ่งของหญิงวัยเจริญพ้นธ์ จะผลิตไข่ขึ้นมาหนึ่งฟอง ไข่จะเคลื่อนไปตามท่อรังไข่และเข้าสู่มดลูก หากไข่ไม่ได้รับการผสมก็จะถูกขับออก

รังไข่นอกจากสร้างไข่แล้ว ยังผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อว่า oestrogen and progesterone


เนื้องอกของรังไข้




เนื้องอกของรังไข่แบ่งอกเป็นชนิดใหญ่ 2 ชนิดคือ

เนื้องอกที่ธรรมดา หรือที่เรียกว่า benign tumor เนื้องอกชนิดนี้จะไม่แพร่กระจาย การรักษาทำได้ง่าย ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกก็หาย

เนื้อมะเร็ง Malignant เนื้องอกชนิดนี้อาจจะเรียกเนื้อร้าย หรือมะเร็งหากวินิจฉัยได้ช้า เนื้อร้ายจะแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น




ชนิดของมะเร็งรังไข่


มะเร็งรังไข่จะเกิดเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของรังไข่

Epithelial tumor เป็นเนื้องอกที่เกิดจากเซลล์ผิวของรังไข่ เนื้องอกส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ชนิดนี้

Germ cell tumor เป็นมะเร็งที่เกิดเซลล์ที่ผลิตไข่

Stroma tumor เป็นเนื้องอกที่เกิดเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งสร้างฮอร์โมนเพศ estrogen และ progesteron

มะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ที่เรียกว่า epithelial cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่เปลือกนอก และยังแบ่งเป็น
  • serous
  • mucinous 
  • endometrioid 
  • clear cell 
  • undifferentiated or unclassifiable 

ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดไหนการรักษาก็ไม่ต่างกัน

ระยะของมะเร็งรังไข่

การพิจารณาให้การรักษาแพทย์จะพิจารณาจากระยะของโรค ซึ่งแบ่งออกเป็น
Borderline tumours เป็นมะเร็งที่อยู่เฉพาะในรังไข่ รูปร่างของเซลล์มะเร็งจะคล้ายเซลล์ปก(low grade) การรักษาจะใช้วิธีผ่าตัดซึ่งให้ผลหายขาด
มะเร็งในระยะที่1มะเร็งอยู่ในเฉพาะรังไข่
  • Stage 1 หมายถึงมะเร็งอยู่ในรังไข่ 
  • Stage 1a เนื้อมะเร็งอยู่ที่รังไข่ 1 ข้าง 
  • Stage 1b มะเร็งอยู่ที่รังไข่ 2 ข้าง.และยังไม่ออกนอกรังไข่ 
  • Stage 1c มะเร็งอยู่ในรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างร่วมกับ 
  • มะเร็งอยู่ที่ผิวของรังไข่ 
  • หากมะเร็งเป็นถุงน้ำและถุงน้ำแตกออก 
  • พบเซลล์มะเร็งในช่องท้อง 
  • Stage 2มะเร็งอยู่ข้างหนึ่งหรือสองข้างและแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียงเช่น ช่องคลอด ท่อรังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ 
  • Stage 2a มะเร็งลุกลามเข้าอวัยวะสืบพันธ์เช่น vagina, มดลูก ท่อรังไข่fallopian tubes. 
  • Stage 2b มะเร็งลามเข้าอวัยวะช่องเชิงกรานเช่น กระเพาะปัสสาวะ bladderแต่ยังไม่ลามไปยังอวัยวะในช่องท้อง 
  • Stage 2cมะเร็งได้แพร่กระจายในช่องท้อง 
  • Stage 3 มะเร็งอยู่ในรังไข่ มะเร็งลามเข้ายังอวัยวะในช่องท้อง เช่นต่อมน้ำเหลือง ลำไส้ 
  • Stage 3a มะเร็งที่แพร่กระจายมีขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า. แต่ส่องกล้องพบเซลล์มะเร็ง 
  • Stage 3b มะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 เซ็นติเมตร 
  • Stage 3c มะเร็งมีขนาดมากกว่า 2 เซ็นติเมตร 
  • Stage 4 มะเร็งแพร่กระจายไป ปอด สมอง

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมาก


มะเร็งต่อมลูหมากเป็นมะเร็งที่พบในผู้ชาย มะเร็งต่อมลูกหมากพบได้ในวัยสูงอายุผู้ป่วยมักจะมีอาการปัสสาวะไม่ออก


สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีใครทราบ แต่เท่าที่วิจัยได้พบว่าความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่
  • อายุ มะเร็งต่อมลูกหมากพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50ปีขึ้นไป อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี
  • ประวัติครอบครัว พบว่าชายที่มีพ่อ หรือพี่น้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนทั่วไป
  • เชื้อชาติ พบไม่บ่อยในชาวเอเชียแต่พบบ่อยในอเมริกา
  • อาหาร พบว่าผู้ที่บริโภคมันจากสัตว์มากมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนผู้ที่บริโภคผักและผลไม้จะลดโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก

อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมากแรกเริ่มจะไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะเกิดอาการเหล่านี้

  • ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน
  • เวลาเริ่มปัสสาวะจะลำบาก
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง
  • เวลาปัสสาวะจะปวด
  • อวัยวะเพศแข็งตัวยาก
  • เวลาหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดจะปวด
  • มีเลือดในน้ำเชื้อหรือปัสสาวะ
  • ปวดหลังปวดข้อ


ระยะของโรค

การวางแผนการรักษาจะต้องรู้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายหรือยังหรือยังอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมาก โดยจะต้องมีการตรวจเพิ่มเช่นการตัดชิ้นเนื้อจากทวารหนัก การ x-ray พิเศษ ที่นิยมแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ 1-4 หรือ A-D
  • Stage 1 หรือ A ระยะนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการไม่สามารถตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากทาง ทวารทราบว่าเป็นโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตระยะนี้มะเร็งอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก
  • Stage 2หรือ B สามารถตรวจได้จาการตรวจต่อมลูกหมากโดยการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเนื่องจากค่า PSA สูงมะเร็งยังอยู่ในต่อมลูกหมากไม่แพร่กระจาย
  • Stage 3หรือC มะเร็งแพร่กระจายไปเนื้อเยื่ออยู่ใกล้ต่อมลูกหมาก
  • Stage 4 หรือDมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น
  • Reccurent หมายถึงภาวะที่มะเร็งกลับเป็นใหม่หลังจากรักษาไปแล้ว


วิธีการรักษา

  • การเฝ้ารอดูอาการ เหมาะสำหรับมะเร็งที่เริ่มเป็นและผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
  • การผ่าตัด Prostatectomy เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้นซึ่งมีวิธีการทำผ่าตัดได้ 3 วิธี
  • radical retropubic prostatectomy แพทย์จะผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องโดยตัดเอาต่อมลูกหมากและต่อมน้ำเหลือง
  • radical perineal prostatectomy แพทย์ผ่าตัดผ่านทางผิวหนังบริเวณอัณฑะและทวารหนักโดยตัดต่อมลูกหมาก ส่วนต่อมน้ำเหลืองต้องตัดออกโดยผ่านทางหน้าท้อง
  • transurethral resection of the prostate (TURP)เป็นการตักต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศเป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง
  • ถ้าผลชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองมีเชื้อมะเร็งแสดงว่ามะเร็งนั้นแพร่กระจายแล้ว

  • Radiation therapy การให้รังสีรักษาเป็นการให้ในกรณีที่มะเร็งนั้นก้อนขนาดเล็กหรือให้หลังจากผ่าตัดต่อมลูกหมากไปแล้วการให้รังสีรักษา อาจจะให้โดยการฉายแสงจากภายนอกหรือการฝังวัตถุอาบรังสีไว้ใกล้เนื้องอก implant radiationหรือ brachytherapy
  • Hormonal therapy เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากต้องใช้ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตการให้ฮอร์โมนจะใช้ในกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายแล้ว หรือเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหลังการรักษาซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้
  • การตัดลูกอัณฑะซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชาย
  • การใช้ยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน testosterone เช่น  leuprolide, goserelin, และ buserelin.
  • ยาที่ป้องกันการออกฤทธิ์ของ androgen เช่น  flutamide และ bicalutamide.
  • ยาที่ป้องกันต่อมหมวกไตไม่ให้สร้างฮอร์โมน androgen เช่น ketoconazole and aminoglutethimide.
  • Chemotherapy การให้เคมีบำบัดเป็นการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการให้สารเคมีซึ่งการรักษายังไม่ดีพบใช้ในกรณีที่โรคแพร่กระจายแล้ว
  • ใช้สารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิหรือภูมิที่สร้างจากภายนอกเพื่อให้ภูมิต่อสู่กับเชื้อโรค
  • cryotherapy เป็นการรักษาใหม่โดยใช้เข็มสอดเข้าในต่อมลูกหมากแล้วฉีดสาร liquid nitrogen เพื่อแช่แข็งมะเร็งต่อมลูกหมาก ใช้ในกรณีที่ไม่เหมาะในการผ่าตัดผลการรักษายังไม่ยืนยันว่าได้ผลดี

ผลข้างเคียงของการรักษา

การเฝ้ารอสังเกตอาการผลเสียคือทำให้เสียโอกาสในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มแรก
การผ่าตัด จะทำให้เจ็บปวดในระยะแรก และผู้ป่วยต้องคาสายสวนปัสสาวะ10วัน-3 สัปดาห์ การผ่าตัดอาจจะทำให้กลั้นปัสสาวะและอุจาระไม่ได้ และอาจจะเกิดกามตายด้าน นอกจากนี้จะไม่มีน้ำเชื้อเมื่อถึงจุดสุดยอด
การฉายรังสีจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียการผักผ่อนเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ก็ควรออกกำลังเท่าที่จะทำได้ การฉายรังสีอาจจะทำให้ผมร่วง และอาจจะทำให้เกิดกามตายด้าน
การให้ฮอร์โมนจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหมือนชายวัยทองคือมีอาการกามตายด้าน ร้อนตามตัว
การป้องกัน

อาหารป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

มีการศึกษาว่า วิตามินอี selenium และน้ำมะเขือเทศสามารถลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้
การลดอาหารไขมันและเพิ่มถั่ว ผัก ผลไม้สามารถป้องกันมะเร็งได้




มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาว

เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดชนิดผิดปกติออกมามากกว่าปกติ และจะไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติ ทำให้จำนวนเม็ดเลือดที่ปกตินั้นมีจำนวนลดน้อยลง









อาการ
เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณเกล็ดเลือด ที่บทบาทสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือดนั้นลดจำนวนลง ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจจะเกิดรอยจ้ำเลือด (bruised) มีภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้ (bleed excessively) และ อาจจะเป็นจุดแดง ๆ ตามผิวหนังได้ (petechiae)
นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ปกติลดจำนวนลงนั้น จะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติอีกด้วย รวมทั้ง การที่จำนวนเม็ดเลือดแดงมีจำนวนที่ลดลง ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการของโลหิตจาง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะหายใจลำบากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ ยังอาจจะมีอาการอื่น ๆ อีก เช่น อาการมีไข้ขึ้น หนาวสั่น น้ำหนักลด มีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และเมื่อเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังตับและม้าม ก็จะทำให้ตับโต และม้ามโตได้ และถ้าหากเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังกระดูก ก็จะส่งผลทำให้มีอาการปวดกระดูกและข้อได้เช่นกัน

ประเภท

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute leukemia) เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักเกิดกับเด็ก โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตภายในไม่กี่เดือน
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (Chronic leukemia) เกิดจากการที่ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติออกมาเป็นจำนวนมากกว่าเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติในร่างกายเป็นจำนวนมาก โดยปกติแล้วมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง มักจะเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ในหลาย ๆ ช่วงอายุ



สาเหตุ
สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น ส่วนมากมักเกิดจากการผิดปกติของข้อมูลทางพันธุกรรม ซึ่งนำไปสู่การแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติไป นั่นคือ จำนวนเซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนไม่ยอมหยุด ดังนั้น เราสามารถสรุปสาเหตุการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว ดังนี้

  • สารก่อมะเร็ง
  • รังสี (Ionizing radiation)
  • ความผิดปกติของโครโมโซม 
  • ไวรัส บางชนิด

วิธีการรักษา

  • เคมีบำบัด Chemotherapy สามารถให้ได้ทั้งทางฉีดและการกิน มะเร็งบางชนิดอาจต้องให้เข้าไขสันหลัง รังสีรักษา Radiotherapy สามารถให้ได้ 2 กรณีคือให้รังสีบริเวณที่มะเร็งอยู่ เช่นม้าม อันฑะ หรืออาจให้ฉายรังสีทั้งตัวเพื่อเตรียมการปลูกถ่ายไขกระดูก การปลุกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation โดยการให้เคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับรังสีเพื่อทำลายเซลล์หลังจากนั้นจึงนำไขกระดูกของคนปกติฉีดเข้าไป ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลจนกระทั่งร่างกายสามารถสร้างเม็ดเลือดได้
  • การสร้างภูมิคุ้มกัน Biological therapy โดยการใช้ interferon กับเซลล์มะเร็งได้บางชนิด
  • การรักษาอื่นๆที่จำเป็น


















มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม


เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถพบได้ 1 ใน 10 ของผู้หญิง มะเร็งเต้านมนั้นสามารถพบได้ในผู้ชายเช่นกัน แต่พบในอัตราที่น้อยมาก



ปัจจัยเสี่ยง
  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม โดยพบบ่อยในหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ รวมทั้ง ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีอัตราเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่สูงกว่าคนปกติด้วย
  • ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี รวมทั้ง หญิงที่ไม่เคยมีบุตร จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
  • การกลายพันธุ์ของยีน เช่น การเกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 สามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
  • ผู้หญิงที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ เช่น หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และมีความหนาแน่นของเต้านมมากกว่าร้อยละ 75 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ
  • ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุก่อน 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ง่ายกว่าคนปกติ
  • ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง รวมทั้ง ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจเกิดมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น
  • การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

อาการเริ่มต้นที่อาจจะเป็นมะเร็ง
  • อาการเริ่มต้นของมะเร็งเต้านม
  • มะเร็งระยะเริ่มต้นนั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้
  • มีก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้ บริเวณเต้านมเป็นมะเร็งเต้านม
  • มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม
  • ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด
  • หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ
  • มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม ( ร้อยละ 20 ของการมีเลือดออกจะเป็นมะเร็ง)
  • เจ็บเต้านม ( มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว )
  • การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต

วิธีการตรวจ 3 ท่า

ทุกท่าจะต้องบิดลำตัวไปทั้งทางซ้ายและขวาสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ความผิดปกติของผิวหนังรอยบุ๋ม รอยนูนของเต้านมหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมทั้ง 2 ข้าง โดยมีท่า ดังนี้

ยืนหน้ากระจก
ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย
ยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ
ท้าวเอว เกร็งอกเพื่อให้ผนังทรวงอกกระชับขึ้น
โค้งตัวมาข้างหน้าใช้มือทั้ง 2 ข้างท้าวเอว
นอนราบ
นอนให้สบาย ตรวจเต้านมขวาให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา
ยกแขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบซึ่งจะทำให้คลำง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกมีเนื้อหนามากที่สุด และมีการเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด
ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย ( นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ) คลำทั่วเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงไม่ใช่ และทำวิธีเดียวกันนี้กับเต้านมด้านซ้าย
ขณะอาบน้ำ
สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจบนศีรษะ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างคลำไปทิศทางเดียวกับที่ใช้ในท่านอน
สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านมด้านบน


การดูแลเต้านม

อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 ถึง 10 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน
สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
หากพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีที่พบ







มะเร็งต่อมน้ำเหลือง


มะเร็งต่อมน้ำเหลือง


มะเร็งต่อมน้ำเหลืองคืออะไรมะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ มะเร็งที่มีต้นกำเนิดมาจากต่อมน้ำเหลืองหรือเนื้อเยื่อน้ำเหลือง มีภาวะที่มีการเจริญเติบโตที่มากเกินไปในระบบน้ำเหลือง
ระบบน้ำเหลืองของร่างกายมีหน้าที่ต่อสู้เชื้อโรคโดยการขนส่งน้ำเหลืองไปตามหลอดน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ซึ่งภายในน้ำเหลืองจะประกอบไปด้วย
เม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte ทำหน้าที่สร้างสารภูมิคุ้มกัน และทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
ต่อมน้ำเหลือง (Lymph node): มีลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว ภายในประกอบไปด้วยเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte จะพบต่อมน้ำเหลืองได้ทั่วร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองที่คลำได้ง่ายมักพบบ่อยบริเวณลำคอ รักแร้ เต้านม หรือบริเวณขาหนีบ
หลอดน้ำเหลือง( Lymphatic vessels) ภายในประกอบไปด้วย น้ำเหลือง ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างต่อมน้ำเหลืองแต่ละแห่ง
นอกจากนี้ยังมีอวัยวะอื่นๆที่จัดอยู่ในระบบน้ำเหลืองอีกได้แก่ ต่อมทอนซิล ม้าม และ ต่อมไทมัส
เมื่อต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติไปเนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะเกิดปัญหาที่สำคัญคือ ภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น





อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เนื่องจากอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเหมือนอาการอื่นๆที่พบได้ในภาวะต่างๆ เช่น การติดเชื้อ ภูมิแพ้ ดังนั้นจึงมีผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องแต่แรก โดยทั่วไปอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักจะกินเวลานาน และไม่สามารถอธิบายได้จากสาเหตุอื่น

อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบได้บ่อย

- การพบก้อนที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น ที่คอ รักแร้ หรือ ขาหนีบ โดยก้อนที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้นมักไม่เจ็บ ซึ่งต่างจากการติดเชื้อที่มักมีอาการเจ็บที่ก้อน
- ไข้ หนาวสั่น
- มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
- เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
- อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ไอเรื้อรัง และหายใจไม่สะดวก
- ต่อมทอนซิลโต
- อาการคันทั่วร่างกาย
- ปวดศีรษะ (พบในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระยะลุกลาม

ในผู้ป่วยบางราย จะพบอาการปวดที่ต่อมน้ำเหลืองหลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ในรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองภายในช่องท้อง จะพบอาการแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย คลำได้ก้อนในช่องท้อง อมน้ำเหลืองที่โตจะมีผลกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือด หรือ เส้นประสาท อาจทำให้เกิดอาการชา หรือบวมตามแขนขาได้

อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการใดๆ แต่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายโดยแพทย์ว่ามีต่อมน้ำเหลืองโต
 


การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การรักษาผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่แพทย์นัด ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ถึงแม้จะรู้สึกว่ามีอาการดีขึ้น

การรักษาจะขึ้นกับระยะของโรคที่ผู้ป่วยเป็น และสภาวะร่างกายโดยรวม การรักษาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ

1. การเฝ้าระวังโรค: จะพิจารณาการรักษาด้วยวิธีนี้ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดไม่รุนแรงที่ยังไม่ต้องการรักษา โดยแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาติดตามเป็นระยะ เมื่อพบว่าโรคมีการกระจายมากขึ้น หรือเกิดอาการจากตัวโรคจึงจะพิจารณาให้การรักษา

2. การใช้ยาเคมีบำบัด: คือการใช้ยาที่มีผลทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย ยาอาจอยู่ในรูปยากินหรือยาฉีด สูตรยาเคมีบำบัดที่จะขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรคที่เป็น
- สูตรยาเคมีบำบัดมาตรฐานสำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือสูตร CHOP ซึ่งประกอบไปด้วยยา 4 ชนิด ได้แก่ cyclophosphamide, adriamycinn, vincristine และ prednisolone
- ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดพบได้หลายรูปแบบ ซึ่งเป็นผลจาการที่ยาไปทำลายเซลล์ปกติของร่างกายนอกเหนือไปจากเซลล์มะเร็ง ในผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน, อาการชาปลายมือปลายเท้า, อาการท้องผูกหรือท้องเสีย, ภาวะเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ, ภาวะเลือดออกจากเกล็ดเลือดต่ำ โดยทั่วไปผลข้างเคียงเหล่านี้จะหายไปเมื่อหยุดยาเคมีบำบัด สำหรับผลข้างเคียงในระยะยาว อาจพบว่ามีบุตรได้ยากในภายหลัง หรือเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดอื่นตามมาได้

3. การรักษาด้วยการฉายรังสี: เป็นการใช้รังสีขนาดสูงเพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็งในแต่ละบริเวณ มักพิจารณาการรักษาด้วยวิธีนี้ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะแรกๆ 
-ผลข้างเคียงของการฉายรังสี ได้แก่ อาการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง, เจ็บคอ หรือ ปวดท้อง อาการข้างเคียงส่วนมากสามารถบรรเทาได้ด้วยการให้ยาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น

4. การรักษาด้วยแอนตี้บอดี้ 
เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่เป็นสารสังเคราะห์ไปจับกับโปรตีนบนผิวของเซลล์มะเร็งแล้ว ส่งผลให้มีการกระตุ้นการทำลายของเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้น ในปัจจุบันมีทั้งที่ใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด 

5. การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Stem cell transplantation)




- คือการให้ยาเคมีบำบัดในขนาดสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่ แล้วตามด้วยการให้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดแก่ผู้ป่วย มักพิจารณาการรักษาด้วยวิธีนี้ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ดื้อต่อการรักษาหรือในผู้ที่มีโรคกลับ
- เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่จะนำมาให้ผู้ป่วยอาจเป็นเซลล์ของผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation) หรือได้มาจากผู้บริจาคซึ่งมีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้กับผู้ป่วย (Allogeneic transplantation)
 

มะเร็งปอด


มะเร็งปอด  เป็นโรคซึ่งมีการเจริญของเซลล์ในเนื้อเยื่อปอดอย่างควบคุมไม่ได้ การเจริญนี้นำไปสู่การแพร่กระจาย มีการรุกรานเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงและแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะนอกปอด มะเร็งปอดส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดเยื่อบุ เจริญมาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิต 1.3 ล้านรายทั่วโลกใน ค.ศ. 2004 และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งมากที่สุดทั้งในชายและหญิง


 อาการที่พบ

  • คืออาการเหนื่อย 
  • ไอ รวมถึงไอเป็นเลือด
  • และน้ำหนักลด
  • มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
  • ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เช่น ปอดบวม
  • เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา

ชนิดของมะเร็งปอด

  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 10-15% เซลล์จะเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว การรักษาจะไม่ใช้วิธีการผ่าตัด ส่วนมากจะรักษาด้วยการใช้ยาหรือฉายรังสี
  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (พบได้ประมาณ 85-90%) แต่จะแพร่กระจายได้ช้ากว่า และสามารถรักษาให้หายได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด

  • ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ แต่มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด เช่น
  • บุหรี่ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 10-30 เท่า เนื่องจากสารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด ทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนมวนและจำนวนปีที่สูบบุหรี่
  • การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon) สารหนู รังสี และสารเคมีอื่นๆ  รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่นๆ
  • อายุ ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอด มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดแม้จะไม่ได้สูบบุหรี่
การรักษามะเร็งปอด

  • สิ่งสำคัญของการรักษามะเร็งปอด คือ การพิจารณาตำแหน่ง ขนาด และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย
  • การผ่าตัด
  • มีเป้าหมายเพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้
  • โดยทั่วไปไม่ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กซึ่งมักมีการแพร่กระจายตัวของเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็ว
  • วิธีนี้ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ในระยะที่ 1, 2 และ 3A
  • การฉายรังสี (radiotherapy)
  • เป็นการใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น
  • วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผลกับระยะมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ แล้ว
  • การฉายรังสีใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กลืนลำบาก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
  • การให้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) เป็นการใช้ยากำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยทั่วไปยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอดเป็นรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นเลือด
  • การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (targeted therapy)
  •  เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ
  • ให้ประสิทธิผลในการรักษาและไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนเช่นยาเคมีบำบัด
  • การรักษาด้วยการผสมผสาน โดยทั่วไปการรักษามะเร็งจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาและผลข้างเคียงของแต่ละวิธี เพื่อให้ความร่วมมือในการรักษาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด