วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง


มะเร็งต่อมน้ำเหลือง


มะเร็งต่อมน้ำเหลืองคืออะไรมะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือ มะเร็งที่มีต้นกำเนิดมาจากต่อมน้ำเหลืองหรือเนื้อเยื่อน้ำเหลือง มีภาวะที่มีการเจริญเติบโตที่มากเกินไปในระบบน้ำเหลือง
ระบบน้ำเหลืองของร่างกายมีหน้าที่ต่อสู้เชื้อโรคโดยการขนส่งน้ำเหลืองไปตามหลอดน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ซึ่งภายในน้ำเหลืองจะประกอบไปด้วย
เม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte ทำหน้าที่สร้างสารภูมิคุ้มกัน และทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
ต่อมน้ำเหลือง (Lymph node): มีลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว ภายในประกอบไปด้วยเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte จะพบต่อมน้ำเหลืองได้ทั่วร่างกาย ต่อมน้ำเหลืองที่คลำได้ง่ายมักพบบ่อยบริเวณลำคอ รักแร้ เต้านม หรือบริเวณขาหนีบ
หลอดน้ำเหลือง( Lymphatic vessels) ภายในประกอบไปด้วย น้ำเหลือง ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างต่อมน้ำเหลืองแต่ละแห่ง
นอกจากนี้ยังมีอวัยวะอื่นๆที่จัดอยู่ในระบบน้ำเหลืองอีกได้แก่ ต่อมทอนซิล ม้าม และ ต่อมไทมัส
เมื่อต่อมน้ำเหลืองทำงานผิดปกติไปเนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม ก็จะเกิดปัญหาที่สำคัญคือ ภูมิคุ้มกันต่ำลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น





อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
เนื่องจากอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเหมือนอาการอื่นๆที่พบได้ในภาวะต่างๆ เช่น การติดเชื้อ ภูมิแพ้ ดังนั้นจึงมีผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องแต่แรก โดยทั่วไปอาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมักจะกินเวลานาน และไม่สามารถอธิบายได้จากสาเหตุอื่น

อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบได้บ่อย

- การพบก้อนที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น ที่คอ รักแร้ หรือ ขาหนีบ โดยก้อนที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้นมักไม่เจ็บ ซึ่งต่างจากการติดเชื้อที่มักมีอาการเจ็บที่ก้อน
- ไข้ หนาวสั่น
- มีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน
- เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
- อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ไอเรื้อรัง และหายใจไม่สะดวก
- ต่อมทอนซิลโต
- อาการคันทั่วร่างกาย
- ปวดศีรษะ (พบในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระยะลุกลาม

ในผู้ป่วยบางราย จะพบอาการปวดที่ต่อมน้ำเหลืองหลังการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ในรายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองภายในช่องท้อง จะพบอาการแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย คลำได้ก้อนในช่องท้อง อมน้ำเหลืองที่โตจะมีผลกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดเลือด หรือ เส้นประสาท อาจทำให้เกิดอาการชา หรือบวมตามแขนขาได้

อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการใดๆ แต่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายโดยแพทย์ว่ามีต่อมน้ำเหลืองโต
 


การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การรักษาผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่แพทย์นัด ผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ถึงแม้จะรู้สึกว่ามีอาการดีขึ้น

การรักษาจะขึ้นกับระยะของโรคที่ผู้ป่วยเป็น และสภาวะร่างกายโดยรวม การรักษาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ

1. การเฝ้าระวังโรค: จะพิจารณาการรักษาด้วยวิธีนี้ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดไม่รุนแรงที่ยังไม่ต้องการรักษา โดยแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาติดตามเป็นระยะ เมื่อพบว่าโรคมีการกระจายมากขึ้น หรือเกิดอาการจากตัวโรคจึงจะพิจารณาให้การรักษา

2. การใช้ยาเคมีบำบัด: คือการใช้ยาที่มีผลทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย ยาอาจอยู่ในรูปยากินหรือยาฉีด สูตรยาเคมีบำบัดที่จะขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรคที่เป็น
- สูตรยาเคมีบำบัดมาตรฐานสำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือสูตร CHOP ซึ่งประกอบไปด้วยยา 4 ชนิด ได้แก่ cyclophosphamide, adriamycinn, vincristine และ prednisolone
- ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดพบได้หลายรูปแบบ ซึ่งเป็นผลจาการที่ยาไปทำลายเซลล์ปกติของร่างกายนอกเหนือไปจากเซลล์มะเร็ง ในผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน, อาการชาปลายมือปลายเท้า, อาการท้องผูกหรือท้องเสีย, ภาวะเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ, ภาวะเลือดออกจากเกล็ดเลือดต่ำ โดยทั่วไปผลข้างเคียงเหล่านี้จะหายไปเมื่อหยุดยาเคมีบำบัด สำหรับผลข้างเคียงในระยะยาว อาจพบว่ามีบุตรได้ยากในภายหลัง หรือเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดอื่นตามมาได้

3. การรักษาด้วยการฉายรังสี: เป็นการใช้รังสีขนาดสูงเพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็งในแต่ละบริเวณ มักพิจารณาการรักษาด้วยวิธีนี้ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะแรกๆ 
-ผลข้างเคียงของการฉายรังสี ได้แก่ อาการระคายเคืองบริเวณผิวหนัง, เจ็บคอ หรือ ปวดท้อง อาการข้างเคียงส่วนมากสามารถบรรเทาได้ด้วยการให้ยาตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น

4. การรักษาด้วยแอนตี้บอดี้ 
เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่เป็นสารสังเคราะห์ไปจับกับโปรตีนบนผิวของเซลล์มะเร็งแล้ว ส่งผลให้มีการกระตุ้นการทำลายของเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้น ในปัจจุบันมีทั้งที่ใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด 

5. การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Stem cell transplantation)




- คือการให้ยาเคมีบำบัดในขนาดสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่ แล้วตามด้วยการให้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดแก่ผู้ป่วย มักพิจารณาการรักษาด้วยวิธีนี้ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ดื้อต่อการรักษาหรือในผู้ที่มีโรคกลับ
- เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่จะนำมาให้ผู้ป่วยอาจเป็นเซลล์ของผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation) หรือได้มาจากผู้บริจาคซึ่งมีเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้กับผู้ป่วย (Allogeneic transplantation)
 

1 ความคิดเห็น:

  1. มีหมอท่านใดรักษาโรค้หายไหมครับผมข้อข้อมูลหน่อยครับ​ มีผมเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง​ ระยะสุดท้ายครับ

    ตอบลบ